การโอนกรรมสิทธิ์รถ คือ การโอนทะเบียนรถเพื่อเปลี่ยนเจ้าของ โดยที่ ผู้ซื้อ-ผู้ขายรถ จะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนหลังจากที่มีการโอนรถ (วันที่ที่ระบุในใบคำขอโอนและรับโอน) ไม่เกิน 15 วัน เพราะถ้าหากว่าเกินวันที่กำหนดก็จะโดนปรับนั่นเอง

ดังนั้น การโอนกรรมสิทธิ์รถจึงสำคัญมากสำหรับทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะการซื้อขายรถมือสอง เพราะถ้าหากยังไม่มีการโอนรถ ผู้ซื้อก็จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถคันนั้นโดยสมบูรณ์ ซึ่งหมายความว่า ผู้ซื้อก็จะยังไม่ได้ครอบครองเป็นเจ้าของรถคันนั้นโดยสมบูรณ์ หรือถ้าหากรถคันนั้นเกิดติดคดีความ ชื่อของผู้ถือกรรมสิทธิ์รถคนสุดท้าย ก็อาจจะต้องถูกตรวจสอบ
หลักฐานที่ใช้การโอนกรรมสิทธิ์รถ
- 1. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
- 2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ถ้ากรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผุ้มีอำนาจลงนาม
- 3. สัญญาซื้อขาย ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษี
- 4. สำเนาใบมรณะบัตรเจ้าของรถ และคำสั่งศาลหรือพินัยกรรมพร้อมสำเนา (กรณีโอนรับมรดก)
- 5. แบบคำขอโอนและรับโอน ซึ่งกรอกรายการและลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนเรียนร้อยแล้ว
- 6. หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอง กรณีผู้โอน และ/หรือผู้รับโอนมิได้มาดำเนินการด้วยตัวเอง
สถานที่ติดต่อ
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาที่ผู้โอนมีที่อยู่ปรากฎในใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือที่ขอแจ้งใช้รถไว้
ขั้นตอนการดำเนินการ
- 1. นำรถเข้ารับการตรวจสอบ ที่งานตรวจสภาพรถยนต์ (ยกเว้นกรณีโอนปิดบัญชีจากผู้ให้เช่าซื้อไปยังผู้เช่าซื้อ ซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถตามรายการจดทะเบียน ไม่ต้องตรวจสอบรถ)
- 2. ยื่นเรื่องโอนกรรมสิทธิ์และชำระค่าธรรมเนียม ที่งานทะเบียนรถ
- 3. รับใบคู่มือจดทะเบียนรถคืน
- 4. รับใบเสร็จรับเงิน ใบคู่มือจดทะเบียนรถ เครื่องหมายการเสียภาษี และแผ่นป้าย ทะเบียนรถ
หมายเหตุ
การโอนกรรมสิทธิ์รถต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันโอน (หากไม่ดำเนินการภายในกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท)
ที่มา DLG กรมการขนส่งทางบก